เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับเรา

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ที่ได้รับการยกฐานะขึ้นจากสมาคมอุตสาหกรรมไทย ที่ดำเนินการ มาตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2510 มาเป็นสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2530 ภายใต้การกำกับดูแล ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐ ที่ต้องการพัฒนาสถาบันธุรกิจภาคเอกชน ของไทยให้แข็งแกร่ง อันจะทำให้กลไกการพัฒนา ในภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สามารถประสานกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และพิทักษ์ ผลประโยชน์ของชาติในวงการเศรษฐกิจโลก

วิสัยทัศน์

องค์กรที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ในการผลักดันยานยนต์ไทย ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งทางอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และ สังคมของประเทศ

---------------------------

พันธกิจ

  1. สร้างบทบาทของกลุ่มฯ ยานยนต์ ภายใต้สภาอุตสาหกรรมฯ ให้เป็นที่พึ่งของสมาชิก เป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้เสียในฐานะองค์กรตัวแทนอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง แสดงภาพลักษณ์ที่ชัดเจนต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและนานาชาติ
  2. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ไม่ว่าจะเป็น ยานยนต์สมัยใหม่ที่ภาครัฐกำลังส่งเสริม หรือยานยนต์เทคโนโลยีปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การรู้เท่าทันเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงความพร้อมของสมาชิกคลัสเตอร์ยานยนต์ทั้งระบบ
  3. นำเสนอนโยบายอย่างสร้างสรรค์ เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างกลุ่มฯ กับองค์กรภายนอกและกับสมาชิกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ส่วนรวมในการติดตามความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมด้วยข้อมูลที่รอบด้าน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสมาชิกสร้างบทบาทการเป็นผู้ชี้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในทุกด้าน ให้ความสำคัญเทคโนโลยีทุกประเภท เพื่อสร้างโอกาสให้กับสมาชิกอุตสาหกรรม ทั้งเจ้าของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมสนับสนุน โดยมุ่งประโยชน์สูงสุดในการรักษาฐานการผลิตในประเทศ เพิ่มทางเลือกให้กับภาคเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมไทย
  4. สร้างบทบาทการเป็นผู้ชี้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในทุกด้าน ให้ความสำคัญเทคโนโลยีทุกประเภท เพื่อสร้างโอกาสให้กับสมาชิกอุตสาหกรรม ทั้งเจ้าของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมสนับสนุน โดยมุ่งประโยชน์สูงสุดในการรักษาฐานการผลิตในประเทศ เพิ่มทางเลือกให้กับภาคเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมไทย
  5. สร้างพันธมิตรกับสถาบันการศึกษา บริษัทที่ปรึกษา หน่วยงานวิจัยอิสระ และองค์กรนานาชาติ เพื่อสร้างเครือข่ายที่ปรึกษา พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ผ่านองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญจากบุคคลภายนอก เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่ครอบคลุมรอบด้านและเป็นข้อเสนอแนะที่ดีที่สุดเพื่ออุตสาหกรรม
  6. จัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ ความรู้ สร้างการรับรู้ในบทบาทของกลุ่มฯ ยานยนต์ให้สาธารณชนได้รับทราบ รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และนำความรู้ที่ได้รับเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อไป
  7. พัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพและความพร้อมในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้เข้ามาร่วมทำงาน และมีบทบาทในการสานต่อการทำงานในคณะทำงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มฯ มีความเข้มแข็งต่อไป ในระยะยาว
  8. กระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกลุ่มฯ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สร้างความร่วมมือบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีความเป็นกลาง อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ